ประเภทของกล้วยไม้

กล้วยไม้ป่าสกุลช้าง

กล้วยไม้ป่า สกุลช้าง หลักการสังเกตุง่าย ๆ ใบของ กล้วยไม้ป่า ชนิดนี้จะหนาใหญ่ แต่คิดว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักครับ เพราะ ช้าง ออกจะดัง ในหมู่สกุลช้าง นอกจากเอื้องช้างแล้ว ยังมี เขาแกะ กับ ไอยเรศ อีกครับ ที่อยู่ใน สกุลช้าง

การเลี้ยงกล้วยไม้ป่าสกุลช้าง – ชนิดนี้เลี้ยงไม่ยากครับ ถ้าได้มาแบบมีรากเยอะหน่อยจะโตเร็วให้ดอกได้ทุกปี แต่ถ้าได้มารากสั้น ๆ และมีใบหัก ๆ คงต้องรอกันข้ามปีกว่าจะมีดอกครับ

– ถ้า ช้าง ซื้อมา มีรากนิดเดียว ให้ ปลูกในกระเช้าที่ใส่กาบมะพร้าว กาบมะพร้าวชื้น ๆ จะช่วยให้รากช้างแตกตาใหม่เร็วมากครับ

– ถ้า เป็นกล้วยไม้พัฒนาแล้ว ไม่ต้องสนใจ เลี้ยง ๆ ไปเดี๋ยวก็มีดอกครับ

– บำรุงต้นด้วยสูตรปุ๋ย 21-21-21 ทุกสัปดาห์ จะช่วยให้กล้วยไม้ป่าสกุลช้างแข็งแรงมีดอกสวยงามทุกปีครับ(จริง ๆ กล้วยไม้ป่า ใส่ปุ๋ยไม่ใส่ปุ๋ยก็มีดอกเหมือนกันหมดครับ แต่ใส่ปุ๋ยแล้วต้นสวยขึ้นดอกเยอะขึ้นเท่านั้นเอง)

กล้วยไม้ป่าสกุลกุหลาบ

สกุลกุหลาบมีหลากหลายสายพันธุ์มาก ๆ ครับในบ้านเรา เท่าที่ผมรู้จักมี กุหลาบกระเป๋าปิด กุหลาบกระเป๋าเปิด กุหลาบน่าน กุหลาบอินทจักร กุหลาบเหลืองโคราช กุหลาบแดง กุหลาบมาลัยแดง ครับ ในภาพเป็นกุหลาบไอยราวรรณ์ หรือ กุหลาบน่านครับ

วิธีดูว่ากุหลาบอะไรเป็นอะไร

– กุหลาบกระเป๋าปิด ปากจะปิดครับ เหอ ๆ บอกไม่ถูก เอาเป็นว่า ปากเค้าจะปิดเหมือนเดปกระเป่าครับ ลักษณะใบคล้าย ๆ ช้าง   แต่ว่า บางกว่าเล็กกว่า

– กุหลาบกระเป๋าเปิด ใบยาว ดอกเค้าจะเปิดครับ ดูปุ๊บก็เดาได้เลยว่ามันเปิดแน่ ๆ ดอกสีขาวปากสีแดง

– กุหลาบเหลืองโคราช ดอกสีเหลือง ใบเหมือนกุหลาบกระเป๋าปิด แต่ดอกดันกระเป๋าเปิด

– กุหลาบแดง เป็นกุหลาบสีแดงออกบานเย็น ๆ ใบเหมือนกุหลาบกระเป๋าปิด แต่ว่ามีลายกระแดงเต็มใบเลยครับ

– กุหลาบมาลัยแดง ใบไม่เหมือนชาวบ้าน ห่อเรียวยาวแข็ง ออกสีเหลือง ๆ ต้นก็แปลก ๆ ดอกสีแดงเล็ก ๆ

– กุหลาบน่านดอกเหมือนต้นข้างบน ใบยาวเรียวแต่ไม่ห่อและแข็งเหมือนมาลัยแดงครับ

วิธีปลูกกล้วยไม้ป่าสกุลกุหลาบ – ปลูกคล้ายกันทุกชนิดครับ  คือ ถ้าได้มาแบบมีรากมาก ก็จะแปะขอนไม้ หรือลงกระเช้าก็ไม่ตายครับ แต่ถ้ารากน้อย ๆ ให้ปลูกใส่กาบมะพร้าว รอรากเดินดีค่อยเอามะพร้าวออกหรือจะใส่ไว้ก็ได้ครับ

สกุลกุหลาบให้ดอกง่าย ยกเว้นกุหลาบมาลัยแดง อาจจะให้ดอกยากสำหรับมือใหม่ หลังจากปลูกเลี้ยงรากเดินดีแข็งแรงดีแล้ว ให้ค่อย ๆ ย้ายกุหลาบมาลัยแดงให้ได้รับแสงเยอะ ๆ นะครับ เพราะเค้าชอบแดดครับ ถ้าได้รับแสงที่เหมาะสมเค้าจะให้ดอกเองครับ

กล้วยไม้ป่าสกุลแวนด้า

ชนิดนี้มีเยอะมาก ๆ ครับสกุลแวนด้าเนี่ย เท่าที่ผมรู้ก็มี สามปอยดง สามปอยนก สามปอยขุนตาน สามปอยหลวง สามปอยชมพู ฟ้ามุ่ย แค่นี้เท่านั้นครับ เหอะๆ อย่างในรูปเป็นลูกผสมสามปอยขุนตานที่ถ่ายมาจากราวประกวดครับ ด้านหลังเห็นลิบ ๆ นั่นก็ลูกผสมแวนด้า ไม่รู้ว่าลูกผสมอะไร เดี๋ยวนี้ลูกผสมเยอะครับดูยาก

การเลี้ยงกล้วยไม้ป่าสกุลแวนด้า

ถ้าได้กล้วยไม้เปลือยรากมา ถ้ารากเยอะก็จับติดต้นไม้ได้เลย หรือจะเอาลงกระเช้าก็ได้ ถ้ารากน้อยก็เช่นเดิม จับลงเครื่องปลูกมะพร้าวสับละครับ แต่ส่วนใหญ่ สกุลสามปอย จะเลี้ยงง่าย แต่ฟ้ามุ่ย จะยากหน่อย ถ้าฟ้ามุ่ยรากน้อยให้ใส่กาบมะพร้าวไว้ก่อนนะครับ เอาไว้รากเยอะ ๆ ค่อยเปลือยรากไม่ต้องใส่กาบมะพร้าวก็ได้

กล้วยไม้ป่าสกุลเข็ม

-เป็นกล้วยไม้ที่ดูไม่ยาก ต้นเล็ก ใบเรียว ดอกเล็ก แต่ดกมากครับ มี เข็มแสด เข็มม่วง เข็มชมพู แต่เข็มขาวไม่ใช่เข็มครับ เป็นแวนด้า แต่ดันเรียกว่าเข็ม …

การปลูกกล้วยไม้ป่าสกุลเข็ม

-เข็มเป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย แค่จับแปะ ๆ สักพักรากก็มาใหม่แล้วครับ เข็มทุกชนิดชอบแดดเยอะ ๆ ถ้าได้แดดน้อย เข็มจะไม่สวยครับ

**เข็มชมพู หรือ เข็มยูนาน เลี้ยงพื้นราบไม่ได้นะครับ อยู่ที่ดอยอินทนนทร์เท่านั้น

กล้วยไม้ป่าสกุลสิงโต

กล้วยไม้ป่า ชนิดนี้มีหลากหลายมาก ๆ ครับ เป็นอีกชนิดที่เจาะจงไม่ได้ว่าอะไรปลูกยังไง แต่โดยรวมมีวิธีปลูกดังนี้ครับ

1. นำปลูกติดขอนไม้ ขอนไม้ที่นำมาปลูกต้องเป็นขอนไม้ที่มีผิวขรุขระเท่านั้นครับ ถ้าเรียบ ๆ รากเค้าไม่ค่อยเกาะ ส่วนใหญ่ที่     เขาปลูกกันจะเอากาบมะพร้าวมาห่อขอนไม้แล้วเอา กล้วยไม้ป่า ชนิดนี้เกาะครับ ซึ่งสวยดี น่าลอกเลียน

2. ปลูกใส่กระเช้า เห็นสิงโตเป็นไหล ๆ เค้าก็ปลูกใส่กระเช้าเหมือนกันครับ แถมสวยด้วย เครื่องปลูกที่เห็นส่วนใหญ่จะเป็น     เปลืองสนบ้าง กาบมะพร้าวบ้าง สเฟกนั่มมอสบ้าง พอ กล้วยไม้ป่า ชนิดนี้แตกกอเยอะ ๆ เค้าจะกลายเป็นก้อนกลม ๆ บน     กระเช้า สวยมากครับ ต้องลองดูครับ (แต่ว่าจะโต 5 ปี นู้นแหละ …)

ใส่ความเห็น