กล้วยไม้ พยาไร้ใบดอกสีเขียว

chiloschista-lunifera-green

กล้วยไม้ พญาไร้ใบเป็นกล้วยไม้ที่ดูแปลกเหมือนว่าไม่มีใบมีแต่ราก แต่อันที่จริงพญาไร้ใบ เป็นกล้วยไม้ ที่ใบมีขนาดเล็กมากและลดรูปทิ้งหายใบในช่วงหน้าแล้งและจะสามารถแตกใบเล็กๆออกมาได้ในช่วงฤดูฝน
กล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ มีหลายชนิดซึ่งลักษณะต้นจะคล้ายกันคือมีแต่รากที่ใช้สังเคราะห์แสง แต่ละชนิดมีดอกที่รูปทรงกลมแต่ต่างกันที่สีของดอกและรายละเอียดของดอกเช่น กล้วยไม้ พญาไร้ใบบางชนิดมีจุดลายในดอก บางชนิดมีกลิ่นหอม
พญาไร้ใบเขียวเป็นกล้วยไม้ ที่กระจายพันธุ์ ในป่าดิบแล้งทางภาคเหนืิอของประเทศไทย มักพบเกาะบนคาคบไม้ใหญ่ บริเวณที่มีแสงส่องถึงและอากาศโปร่งถ่ายเทสะดวก ดอกออกเป็นช่อทิ้งห้อยย้อยลง หากเลี้ยงให้ต้นสมบูรณื จะมีดอกดก ช่อยาวขึ้น ดอกมีลักษณะกลมกลีบหนาสีเขียวอมเหลืิอง การปลูกเลี้ยงดูแลง่าย ทนอากาศร้อน ไม่ควรใช้วัสดุปลูกที่แฉะอมน้ำจะทำให้เน่าได้ง่าย ส่วนใหญ่มักปลูกติดท่อนไม่หรือแผ่นไม้เนื้อแแข็ง โดยที่ไม่ต้องรองวัสดุปลูกเลยก็ได้ เพราะกล้วยไม้ชนิดนี้ชอบสภาพแสงรำไร โปร่ง ไม่อับลมค่อนข้างทนกับสภาพแวดล้อมได้ดีครับ

By follow11

ชายผ้าสีดา

holttumii-neo04

เฟินชายผ้าสีดา เป็นเฟินที่มีเสน่ห์ มีลักษณะที่แตกต่างจากเฟินทั่วไป จัดอยู่ในจำพวกไม้อากาศ ในธรรมชาติพบเกาะอยู่ตามคาคบไม้ แต่ไม่ได้เป็นไม้กาฝาก เพียงขอเกาะอาศัย เพื่อรับแสงแดดและลม หรืออาจพบเกาะอยู่ตามโขดหิน หน้าผาหิน ก็มี พบอยู่ในเป่าเขตร้อนและกึ่งร้อนทั่วโลก ด้วยเสน่ห์น่าหลงไหลของเฟินชายผ้าสีดา จึงเป็นที่นิยมนำมาปลูกประดับสถานที่ กำแพงบ้าน หรือกระถางแขวน กระเช้าแขวน หรือเกาะบนต้นไม้ใหญ่ในสวน

By follow11

เอื้องคำ

dendrobium-chrysotoxum-1

เอื้องคำ ( Dendrobium chrysotoxum )ลักษณะทั่วไป: เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย โดยมากพบบนคาคบไม้ ลำต้น โคนเล็กลำลูกกล้วยป่องตรงกลาง เป็นรูปกระสวย สูงประมาณ๑๕-๓๐ ซม. พื้นผิวลำลูกกล้วยมักเป็นร่องหรือ หลายร่อง มีสีเหลือง หรือบางครั้ง สีเหลืองเข้ม เจือน้ำตาลแดง ใบ เกิดที่ปลายรูปไข่ สีเขียวเข้ม มีประมาณ ๒-๕ใบ ใบยาวประมาณ๑๐-๑๕ ซม. ดอก ออกเป็นช่อ จากตาดอกบริเวณส่วนปลายลำลูกกล้วย ก้านดอกแข็ง มักห้อยโค้ง ลง หรือชี้ไปทางด้านข้าง ช่อดอกยาวประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. กลีบดอกสีเหลืองสด มีแต้มสีเหลืองเข้มปนน้ำตาลเรื่อๆ อยู่ส่วนในของ กลีบปากบริเวณสองข้างของแผ่นกลีบปาก ( side lope ) ขนาดดอกประมาณ ๕ ซม. ฤดูดอก กุมภาพันธ์-พฤษภาคม

By follow11

เเวนด้า

กล้วยไม้สกุลแวนด้า Vanda

DSC05685-resize

แวนด้าเป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด รากเป็นรากอากาศ ใบมีลักษณะกลม แบนหรือร่อง ใบซ้อนสลับกัน ช่อดอกจะออกด้านข้างของลำต้นสลับกับใบ ช่อดอกยาวและแข็ง กลีบนอกและกลีบในมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน โคนกลีบแคบ และไปรวมกันที่โคนเส้าเกสร กลีบดอกในล่างด้านใต้มีเดือยแหลมยื่นออกมาเป็นส่วนท้ายของปากกระเป๋า ปากกระเป๋าของแวนด้าเป็นแบบธรรมดาแบนเป็นแผ่นหนาแข็ง และพุ่งออกด้านหน้า รูปลักษณะคล้ายช้อน หูกระเป๋าทั้งสองข้างแข็งและตั้งขึ้น สีดอกมีมากมายแตกต่างกันตามแต่ละชนิด

กล้วยไม้สกุลแวนด้าพบในป่าตามธรรมชาติประมาณ 40 ชนิด มีกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย จนถึงฟิลิปปินส์ แวนด้าได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันได้มีการจำแนกประเภทของแวนด้า โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบออกเป็น 4 ประเภท คือ

  • แวนด้าใบกลม มีลักษณะของใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง สังเกตได้ที่ใบติดอยู่ห่างๆ กัน มีดอกช่อละหลายดอก แต่ดอกจะบานติดต้นอยู่คราวละ 2–3 ดอกเท่านั้น เมื่อดอกข้างบนบานเพิ่มขึ้น ดอกข้างล่างจะโรยไล่กันขึ้นไปเรื่อยๆ การปลูกใช้ดอกจึงนิยมปลิดดอกมากกว่าตัดดอกทั้งช่อ
  • แวนด้าใบแบน ลักษณะใบแผ่แบนออก ถ้าตัดมาดูหน้าตัดจะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่ปล้องสั้น ใบซ้อนชิดกัน ปลายใบโค้งลงและจักเป็นแฉก
  • แวนด้าใบร่อง มีรูปทรงของใบและลำต้นคล้ายใบแบนมากกว่าใบกลม แวนด้าประเภทนี้ไม่พบในป่าธรรมชาติ การนำมาปลูกเลี้ยงเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งสิ้น โดยนำแวนด้าใบกลมมาผสมกับแวนด้าใบแบน
  • แวนด้าก้างปลา มีรูปทรงของใบและลำต้น กิ่งใบกลมกับใบแบน พบตามป่าธรรมชาติน้อยมาก เพราะกล้วยไม้พันธุ์นี้เป็นหมันทั้งสิ้น

ในบรรดาแวนด้าทั้ง 4 ประเภทนี้ แวนด้าใบกลมเป็นแวนด้าที่เลี้ยงง่ายที่สุด สามารถปลูกลงแปลงกลางแจ้งได้โดยไม่ต้องมีโรงเรือน แต่ดอกมักจะบานไม่ทน ส่วนที่เลี้ยงยากที่สุดคือ แวนด้าใบแบน มีหลายพันธุ์ ทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ ฟ้ามุ่ย เพราะดอกใหญ่ สีสวย การเลี้ยงแวนด้าใบแบนจำเป็นต้องมีโรงเรือนเพราะต้องการแสงที่พอเหมาะ สำหรับแวนด้าใบร่องเป็นลูกผสมระหว่างใบกลมและใบแบน ถูกผสมขึ้นเพื่อให้ปลูกเลี้ยงง่ายขึ้น แต่ดอกมักจะสีไม่สวยและปากหักง่าย

By follow11

เขาแกะ

img0496n

เขาแกะ (Rhynchostylis coelestis)      ในพื้นที่ป่าโปร่งผลัดใบคงไม่มีเอื้องชนิดไหนที่มีความงามเทียบเท่ากับ เขาแกะ กล้วยไม้สกุลช้าง(Rhynchostylis)อีกแล้วก็เป็นได้ครับ      เช่นเดียวกับรองเท้านารีที่ถูกเรียกชื่อตามรูปลักษณ์ดอกอันแสนแปลกของมัน เขาแกะ เองก็เป็นหนึ่งในกล้วยไม้ที่ถูกเรียกชื่อตามลักษณะที่พบเห็น เพียงแต่ เขาแกะ ไม่ได้ถูกตั้งชื่อเพราะดอกเหมือนเขาของแกะ แต่เป็นเพราะใบที่โค้งงอสลับกันไปมาซ้ายขวาที่เหมือนเขาของของแกะเอื้องชนิดนี้เลยได้รับฉายาว่า เขาแกะ ไปโดยไม่รู้ตัว      ชื่อวิทยาศาสตร์ของ เขาแกะ คือ Rhynchostylis coelestis มันเป็นกล้วยไม้สกุลช้างอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นได้ในบ้านเรา เขาแกะ ในธรรมชาติเรามักพบ เขาแกะ ได้ทั่วไปบนคาคบไม้เตี้ย-สูงในป่าโปร่งร้อน เขาแกะ นับได้ว่าเป็นกล้วยไม้ที่ทนร้อนได้อย่างสุด ๆ ครั้งหนึ่งผมได้เดินทางไปยังต่างอำเภออันแร้นแค้น ป่าไม้เป็นป่าโปร่งผลัดใบแม้แต่หญ้าบนพื้นก็แห้งเหี่ยว มีต้นไม้ยืนต้นตายหลายต่อหลายต้น

แต่เมื่อมองขึ้นบนยอดไม้ที่ยังพอมีชีวิตหลงเหลืออยู่บ้างก็พบกับเจ้า เขาแกะ ยืนต้นท้าแสงแดดอันร้อนระอุอย่างไม่สะทกสะท้าน ผมมั่นใจมากว่า เขาแกะ  ที่ผมเห็นในตอนนี้ต้องตายในไม่ช้า แต่สองปีให้หลังผมก็ได้เดินทางไปยังป่าแห่งนี้อีกครั้ง และเดินไปยังโคนต้นไม้ต้นเดิมแล้วเงยหน้าขึ้น มันน่าตกใจจริง ๆ ครับ เขาแกะ ต้นเดิมกลับแตกหน่อมีดอกบานสะพรั่งสวยงามจนน่าตกใจ และเมื่อลองเดินสำรวจป่าระแวกนี้ดูผมก็พบว่ามี เขาแกะ น้อยใหญ่เติบโตขึ้นบนกิ่งไม้ที่ถูกแดดฟาดอย่างจังอย่างน่าตกใจ นับได้ว่า เขาแกะ เป็นราชาทนร้อนของจริงเลยละครับ      ในทางภาคเหนือ เราอาจจะได้ยินคำว่า เอื้องขี้หมา จนติดหู มันเป็นชื่อเรียกของ เขาแกะ อีกชื่อที่เราอาจไม่คุ้นเคย นอกจากนี้ เขาแกะ ยังมีชื่อเล่นอื่น ๆ อีกว่า เอื้องเขาควาย แล้วยังได้รับฉายาเป็นชื่อแบบอินเตอร์อีกด้วยว่า Blue Foxtail แปลได้เท่ ๆ ว่า จิ้งจอกหางน้ำเงิน      ด้วยลักษณะของช่อที่ตั้งยาวขึ้น เขาแกะ จึงเป็นที่นิยมไม่น้อยในหมู่นักพัฒนากล้วยไม้ทั้งไทยและนอก เขาแกะ ถูกนำไปผสมกับกล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์เช่น แวนดา เข็ม  และไม่แน่ว่าบางครั้งเราอาจพบกับลูกผสมของ เขาแกะ ตั้งตระหง่านสวยงามอยู่ตรงหน้าโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้

By follow11

เข็มชมพู

Ascocentrum-semiteretifolium

เข็มชมพู (Ascocentrum semiteretifolium)เข็มชมพู เป็น กล้วยไม้สกุลเข็ม ชนิดเดียมที่มีใบเป็นแบบใบกลม แต่มีร่องลึกทางด้านบนของใบ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย พบที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ในระดับความสูง 1,800-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใบกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกสีม่วงอ่อน
เนื่องจากกล้วยไม้ชนิดนี้มีรูปร่างลักษณะของต้นและสีของดอกไม่เป็นที่สนใจของบรรดานักกล้วยไม้ทั่วๆ ไป ประกอบกับเป็นกล้วยไม้ที่ค่อนข้างจะหายาก ทำให้ไม่มีผู้นิยมปลูกเลี้ยงกันมากนัก

By follow11

เข็มม่วง

ascocentrum-ampullaceum

เข็มม่วง (Ascocentrum ampullaceum) เข็มม่วงปรากฏตามธรรมชาติในประเทศไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และต่ำลงไปถึงจังหวัดกาญจนบุรี พบอยู่ในบริเวณเดียวกันกับเข็มแดง แต่อยู่ในระดับความสูงมากกว่าเข็มแดง ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ภูฏาน เนปาล พม่า จีน และลาว ตเข็มม่วงมีทรงต้นตั้งแข็งอาจมีความสูงได้ถึง 25 เซนติเมตร ใบเป็นประเภทใบแบน ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ใบค่อนข้างแข็ง ไม่โค้งมากนัก ปลายใบตัดและเป็นฟันแหลม ๆ ไม่เท่ากันหลายฟัน ใบมีสีเขียวคล้ำ ในช่วงที่สภาพอากาศแห้งแล้งจะปรากฏจุดสีม่วงเล็ก ๆ บนใบโดยทั่วไป โดยเฉพาะใบที่อยู่ใกล้ ๆ ยอด ยิ่งแห้งแล้งมากจุดสีม่วงจะยิ่งเด่นชัดขึ้น ช่อดอกยาวประมาณ 15 เซนติเมตร เป็นช่อตั้งรูปทรงกระบอก มีดอกประดับแน่นช่อ ประมาณช่อละ 30 ดอก ก้านช่อค่อนข้างสั้น

By follow11

เข็มแดง

ascocentrum-curvifolium

เข็มแดง (Ascocentrum curvifolium) ถิ่นกำเนิดของเข็มแดงในประเทศไทย คือบริเวณเริ่มตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ต่ำลงไปถึงจังหวัดตากและกาญจนบุรี พบในป่าที่มีระดับความสูง 100-300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในฤดูฝนความชื้นในอากาศค่อนข้างสูง แต่ในฤดูแล้วความชื้นในอากาศอาจจะลดลงเหลือเพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์ ในต่างประเทศพบว่าเข็มแดงมีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย ผ่านมาทางประเทศพม่าจนถึงประเทศไทย ลำต้นของเข็มแดงเมื่อสูงถึงประมาณ 20 เซนติเมตร มักจะพบว่าโค้งลงเพราะทรงตัวไม่ได้ และจะมีหน่อเกิดขึ้นทางส่วนล่าง ๆ ของลำต้น ใบค่อนข้างแคบ โค้ง เรียว และยาวที่สุดในบรรดา กล้วยไม้สกุลเข็ม ทุกชนิดที่พบในประเทศไทยด้วยกัน ความยาวของใบประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ค่อนข้างจะอวบน้ำ ใบเป็นสีเขียวอ่อน อ่อนกว่าสีของใบเข็มม่วงและเข็มแสดในระหว่างฤดูแล้วขอบของใบจะปรากฏเป็นจุดสีม่วงขึ้นประปราย และเมื่อความแห้งแล้งเพิ่มมากขึ้นจุดสีม่วงบนใบก็จะมีหนาแน่นยิ่งขึ้น ฤดูออกดอกอยู่ในระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ต้นที่กำลังให้ดอกอาจมีดอก 3-4 ช่อในเวลาเดียวกัน ต้นที่โต ๆ จะให้จำนวนช่อดอกมากขึ้น ช่อดอกตั้งตรง แข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นรูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ดอกโตประมาณ 1.5 เซนติเมตร หรือกว่านั้น กลีบดอกบานเปิดเต็มที่ดอกมีสีแดงอมสีส้มสดใส บานทนนับเป็นสัปดาห์

By follow11

รองเท้าแก้วนารี

o02

 รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้นที่แท้จริงเรียกว่า ไรโซม (เหง้า) ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น รากออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า มีลำต้นสั้นมาก แต่ไม่มีลำลูกกล้วย ใบมีขนาดรูปร่างต่างกันไป บางชนิดมีใบยาว บางชนิดใบตั้งชูขึ้น บางชนิดใบทอดขนานกับพื้น บางชนิดใบมีลาย บางชนิดใบไม่มีลายแต่เป็นสีเดียวเรียบๆ การออกดอกจะออกที่ยอด มีทั้งชนิดออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกชั้นนอกกลีบบนมีขนาดใหญ่สะดุดตา ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะเชื่อมติดกันและมีขนาดเล็กลงจนส่วนปากบังมิดหรือเกือบมิด กลีบคู่ในซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกางออกไปทั้ง 2 ข้างซ้ายขวาของดอก ส่วนกลีบในกลีบที่ 3 จะเปลี่ยนเป็น “กระเปาะ” คล้ายรูปรองเท้า กระเปาะนี้มีหน้าที่รับน้ำฝนตกลงไปเพื่อชะล้างเกสรตัวผู้ไปตัดกับแผ่นเกสรตัวเมีย กล้วยไม้สกุลนี้จะมีทั้งเกสรตัวผุ้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่จะมีเส้าเกสรแตกต่างจากกล้วยไม้ทั่วๆ ไป คือ ที่ปลายสุดของเส้าเกสร แทนที่จะเป็นอับเรณูกลับเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทางพฤษศาสตร์ถือเป็นเกสรที่เปลี่ยนรูปร่างไปใช้การไม่ได้ เรียกส่วนนี้ว่า “สตามิโนด” สำหรับเกสรตัวผู้ที่ใช้การได้มีอยู่ 2 ชุด โดยจะอยู่ถัดต่ำลงมาทั้ง 2 ข้างของเส้าเกสรข้างละ 1 ชุด ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับเส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ได้

By follow11

ไอยเรศ

161557

เอื้องไอยเรศ เป็นกล้วยไม้ในประเทศไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchostylis retusa (L.) Blume มีลักษณะมีลำต้นใหญ่แข็งแรงคล้ายกล้วยไม้ช้าง แต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า ใบยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร มีทางสีเขียวแก่สลับกับสีเขียวอ่อนตามความยาวของใบคล้ายกล้วยไม้ช้าง ปลายใบมีลักษณะเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก โค้งห้อยลง ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านช่อยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 150 ดอก มากกว่ากล้วยไม้ช้าง รูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พวงมาลัย” ต้นใหญ่ๆ มักจะแตกหน่อที่โคนต้น เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นได้ ดอกขนาดมีขนาดประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน แผ่นปากมีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไปข้างหน้า มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปากส่วนโคนและปลายสุดแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสรเห็นชัด ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์

ฤดูกาลออกดอกอยู่ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย

เอื้องไอยเรศมีชื่อพื้นเมืองหลายอย่างไม่ว่า ไอยเรศ, เอื้องพวงหางรอก, เอื้องหางฮอก, เอื้องไอยเรศ

By follow11